? ยไทย

ัจจุบัน พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 2477.พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย
2519 พระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม2498และพระราชบัญญัติร่วมการงาน
เอกชนพ.ศ.2535ยังมีผลบังคับใช้ภายในราชอาณาจักรไทยไม่ว่าอนาคตจะมีการการเปิดเสรีการให้บริการโทรคม
นาคมหรือไม่ก็ตามตราบใดยังไม่มีการตรา พระราชบัญัติยกเลิกกฏหมายทั้ง 5 ฉบับดังกล่าวความิทธิ์ของกฏหม
ายก็ต้องมีผลบังคับถึงตัวบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆที่จะต้องปฏิบัติตาม
      ดังนั้น การที่โครงการอิริเดียมจะเปิดให้บริการในราชอาณาจักรไทยต้องปฏิบัติตามกฏหมายไทยหากมีการ
ยกเว้นเพื่อให้บริษัทเอกชนมีสิทธิพิเศษไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฏหมายไทยจะถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ
หรือเป็นการให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่โครงการอิริเดียม  หรือไม่ ?
       โครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม ภายใต้โครงข่ายอิริเดียมในประเทศไทย ที่มีบริษัท ไทยแซ็ทเทิ่ล
ไลท์  เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (พีเอสซี) เป็นผู้ให้บริการในไทย  คงจะเลื่อนการเปิดให้บริการดังกล่าวไปก่อน
เนื่องจาก การให้บริการดังกล่าวขัดกับกฏหมายสื่อสารฉบับปัจจุบันของไทย ตามกฏหมายสื่อสารของไทยไม่
ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2477 หรือพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประ
เทศไทย พ.ศ.2519 ได้กำหนดว่าการบริการสื่อสารภายในประเทศไทย หรือบริการสื่อสารที่อยู่ในประเทศไทย
 หน่อยงานรัฐ  หรือ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องคือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) หรือ องค์การโทรศํพท์แห่ง
ประเทศไทยเท่า (ทศท.) เท่านั้น มีสิทธิให้บริการได้
       อย่างไรก็ตาม หากเอกชนจะให้บริการสื่อสารได้ ก็จะต้องเข้าข่ายพระราชบัญญัติร่วมการงานเองชน พ.ศ.
2535 และต้องอยู่ในเงื่อนไข สร้าง-โอน-ดำเนินงาน (บีทีโอ) ซึ่งเอกชนจะต้องเป็นผู้ลงทุนสร้างระบบและโอนอุป
กรณ์ทั้งหมดให้เป็นของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทาน จากนั้นก็แบ่งรายได้กันระหว่างรัฐวิสาห
กิจกับเอกชน ทั้งนี้โดยโครงการอิริเดียม มีกำหนดจะเปิดให้บริการพร้อมกันทั้งโลกในเดือนพฤศจิกายนนี้เป็นลัก
ษณะ "ร่วมทุน" ซึ่งไม่เข้าข่ายเงื่อนไขที่กฏหมายยินยอมให้ได้  นอกจากนี้ ความถี่วิทยุที่จะใช้ดำเนินการ ก็ไม่
ถูกต้อง ตามกฏหมายสื่อสารของไทยด้วย เนื่องจากตามกฏหมายสื่อสารของไทย กำหนดให้บริษัทเอกชน ไม่
สามารถขอคลื่นความถึ่จากรัฐโดยตรงได้และกรมไปรษณีย์โทรเลข  ก็ไม่มีสิทธิ์ยกคลื่นความถี่ให้แก่บริษัทใด
บริษัทหนึ่ง นอกจากหน่วยงานของรัฐด้วยกันเท่านั้น  ในขณะที่ผู้ขอคลื่นความถี่ในโครงการดังกล่าว ดำเนินการ
โดยบริษัทเอกชนทั้งหมดตั้งแต่ต้น ซึ่งหมายความว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข ก็อาจจะต้องมีควมผิดตามไปด้วย
และจะอ้างว่า  ไม่รู้  ไม่เห็น  ก็ไม่ได้ดังนั้นล่าสุดเมื่อมีการท้วงติงเรื่องนี้ขึ้นมาคณะรัฐมนตรีจึงส่ง เรื่องมาให้คณะ
ที่ปรึกษา ครม.นำเรื่องกลับไปพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะส่งกลับคืนไปให้ ครม.พิจารณาใหม่ เพียงแต่ยังไม่ได้กำ
หนดวันที่จะเสนอเข้า  ครม.สำหรับบบริษัทไทยแซ็ทเทิ่ลไลท์เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ทีเอสซี ก่อตั้งเมื่อ
เดือน กันยายน 2335 ด้วยทุนจดทะเบียน 2000 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้น ได้แก่ บริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น
อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ ยูคอม ถือหุ้น 41%    สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือ 7 % บริษัท
เอฟอาร์เอถือ 5 % บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยถือ 1 % ส่วนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ถืออยู่ 13% และ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือ 10 %  สำหรับเซาท์อีสต์ เอเซีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ  ทีเอสซี
มี  กสท. ถือหุ้นอยู่ 10 % และ ทศท. 13% ของมูลค่าการจดทะเบียนในไทยทั้งหมด
        โครงการอิริเดียมซึ่งเป็นการสื่อสารไร้สายผ่านระบบดาวเทียม วงโคจรต่ำจำนวน 66 ดวงมีมูลค่าโครงการ
5000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผู้ร่วมทุน 19 ประเทศและมีแผนให้บริการอย่างเป็นทางการทั่วโลกในต้นเดือนพฤศจิ
กายนศกนี้ หลังจากที่ต้องเลื่อนการเปิดบริการมา เนื่องจากมีปัญหาการทำงานของซอฟต์แวร์ในดาวเทียม โดย
ก่อนหน้านี้ ครม. เคยมีมติตั้งแต่ปี 2538 เห็นชอบให้ทั้งสองหน่วยงาน  (กสท.ทศท) สามารถเช้าร่วมทุนโครงการ
ดังกล่าวได้ ซึ่งคณะทำงานในขณะนั้นเห็นว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์กับประเทศไทย หากไม่มีการร่วมทุนบริษัท
ดังกล่าวก็อาจจะเข้าไปลงทุนในลาว  หรือ ประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได
        สำหรับหลักการนี้ กสท. คิดขึ้น ตั้งแต่สมัย นายพินิจ จารุสมบัติ ดูแล กสท. โดยประกาศหลักการ "เปิดเสรี
แบบ กำกวม" และเริ่มใช้ในโครงการให้บริการ สื่อสารผ่านดาวเทียมขนาดเล็ก (วีแสท)
        นักกฏหมายยังกังขา นายสุธรรม อยู่ในธรรม รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
กรณีนี้ ครม. ตัดสินไม่รอบคอบ น่าจะให้คณะกรรมการกฤษฏีกาวินิจฉัยก่อนว่า หากจะให้โครงการนี้เป็นแบบเอก
ชนสร้าง ให้บริการและเป็นเจ้าของ  (บีโอโอ) ได้หรือไม่ เสียก่อนจึงค่อยอนุมัติ
        การที่ ครม.อนุมัติการยกเลิกสัญญาแบบ บีทีโอ ตามเหตุข้างต้นถือเป็นข้อโต้แย้งที่ผิดโดยสิ้นเชิงของรัฐบาล
ที่เห็นได้ชัดว่า เข้ามาช่วยเหลือเอกชนที่มีความสนิทสนมกับบางกลุ่มอย่างชัดเจน
        "ทีเอสซี  ทำข้อตกลงกับ กสท.ตั้งแต่เริ่มขอทำโครงการนี้ โดยขอให้ กสท.เข้าไปถือหุ้นเพื่อให้ได้สิทธิในการ
ตั้งและบริหารเกตเวย์ และขอคลื่นความถี่จากกรมไปรษณีย์ อีกทั้งยังอาศัยเครติต กสท. เป็นหลักประกันในการกู้
เงินจากต่างประเทศด้วย แต่เมื่อ เวลาผ่านไปกลับมาขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ 1 ถือว่าไม่ถูกต้องเพราะทรัพย์สิน
ที่เกิดขึ้นถือเป็นทรัพย์สินที่มีภาระผูกพันจาก  กสท. การปลดภาระ บีทีโอ เท่ากับเป็นการปลดภาระผูกพันจากสถาน
ภาพเจ้าหนี้เป็นผู้ร่วมทุน เพราะทรัพย์สินเหล่านี้ตามเงื่อนไขเดิมต้องเป็นสมบัติของรัฐ (กสท.-ทศท.)แต่เมื่อไม่เป็น
บีทีโอ จะกลายเป็นสมบัติของบริษัทนั้นทันที โดยเฉพาะจะมีผลกระทบต่อหุ้น   ของกลุ่มยูคอม ที่มีราคาขึ้นมาจาก
มูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น" นายสุธรรมซึ่งในอดีตเป็นหนึ่งในกรรมการบริหาร (บอร์ด) กสท. กล่าว
        อดีต บอร์ด กสท.กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นการแหกตา ประชาชน ถ้า ครม.อนุมัติจะทำให้ประเทศเสียหายทันที ถึง
แปดหมื่นล้านบาท จากทรัพย์สินที่ลงทุนที่ควรจะได้จากโครงการนี้ และยังอาจมีโครงการอื่นๆ ตามมาอีก
        ในกรณีที่มีข้ออ้างว่า  โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับใบอนญาตจากต่างประเทศจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็น บีทีโอ
นั้น ตามหลักกฏหมาย โครงการใดก็ตามที่ตั้งบนดินแดนใด ก็ให้ยึดกฏหมายของดินแดนนั้น กรณีนี้แม้อีริเดียมเป็น
ของสหรัฐฯ            แต่จะไม่สามารถใช้งานได้เลย ถ้าไม่ได้สิทธิในการตั้งเกตเวย์ จาก กสท.และได้คลื่นความถี่จาก
กรมไปรณีย์
คัดลอกจาก
วารสารสื่อสาร
สมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการสื่อสารแห่งประเทศไทย

GO BACK