โทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียมอิริเดียม (IRIDIUM)

                   วันนี้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ ณ ที่แห่งใดบนพื้นโลกนี้ IRIDIUM สามารถให้บริการครอบคลุมทุก
ความต้องการด้วยรูปแบบการให้บริการอันสมบูรณ์แบบทั้ง VIOCE  และ DATA     ช่วยให้คุณติดต่อ                                        กับเครือข่ายโทรคมนาคมได้ทั่วโลก    กสท.    ได้ร่วมลงทุนในโครงการ    IRIDIUM    กับบริษัทเอกชน    เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมของไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ ดังนี้                                                      ร่วมลงทุนในบริษัทไทยแซทเทิ่ลไลท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด(TSC) ดำเนินงานบริการระบบดาวเทียม ร่วมลงทุนในบริษัทเซาท์อีสท์เอเซียอิริเดียม จำกัด (SEAI)     ดำเนินงานจัดตั้งและบริหาร     Gateway
ของระบบ IRIDIUM เพื่อให้บริการ Airtime แก่ประเทศต่างๆในภูมิภาคอินโดจีน  และร่วมลงทุนในบริษัท
อิริเดียม (ประเทศไทย) จำกัด  เป็น SERVICE PROVIDER ทำหน้าที่ขายบริการ IRIDIUM แก่ผู้ใช้บริการ
                    ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการให้บริการโทรศัพท์ ได้มีการปรับ
ปรุงโทรศัพท์มือถือจากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิตอล ได้แก่ระบบ  AMPS,NMT มาเป็น D-AMPS,GSM
และ CDMA     เป็นต้น
                    ได้มีการนำเทคโนโลยีทางดาวเทียมมาประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นระบบ
GMPCS (Global Mobile Personal Communications by Satellite) ได้แก่ โครงการอิริเดียม Globalstar,
ICO global Communications เป็นต้น
                 บริษัทโมโตโรล่า  ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของโลก  ได้ริเริ่มโครงการอิริเดียมในปี
พ.ศ.2530โดยมีแนวคิดในการใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth ORBIT : (LEO)ในดาวเทียมอิริเดียม                                  จะมีอุปกรณ์สื่อสาร          เสมือน เป็น Base Station ของโครงข่าย CELLULAR แต่ลอยอยู่บนฟ้าแทน เนื่องจากดาวเทียมอยู่ห่างจากพื้นผิวโลกประมาณ 485 ไมล์ดังนั้นเครื่องโทรศัพท์มือถืออิริเดียมซึ่งมีขนาด
ใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือ Cellular เล็กน้อย       สามารถส่งสัญญาณ    ติดต่อกับดาวเทียมได้โดยตรง
                    โครงการอิริเดียมจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือระบบควบคุมระบบดาวเทียม  สถานี
Gateway และเครื่องลูกข่าย
                    1.ระบบควบคุม (System Control)  มีหน้าที่ควบคุมและจัดการส่วนประกอบต่างๆของอิริเดียม
การโคจรของดาวเทียม การจัดช่องสัญญาณสื่อสาร การควบคุมและดูแลระบบ ดาวเทียม เป็นต้น                       ระบบควบคุมจะประกอบด้วย     Network Operation Center (ระบบ Master) ที่มลรัฐเวอร์จิเนีย USA และ
(ระบบสำรอง) ที่กรุงโรม Italy โดยจะควบคุมผ่าน Telemetry, Tracking and Control Center (TTAC) ที่
Waimea : Hawaii, Yellowknife และ Iqaluit, Canada
                  2.ระบบดาวเทียม    ในโครงการอิริเดียมจะใช้ดาวเทียมจำนวน 66 ดวง แต่ละดวงจะมีน้ำหนักประ
มาณ 700กิโลกรัม แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 11 ดวง มีวงโคจรในลักษณะแนวตั้ง (Vertical Plane)จากขั้วโลก
เหนือไปขั้วโลกใต้ โดยมีฐานยิงจรวดส่งดาวเทียมที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย USA, Baikonur, รัสเซีย และ Taiyuan:
China ดาวเทียม 66  ดวงจะสามารถรับส่งสัญญาณครอบคลุมทุกตารางเมตรบนพื้นผิวโลกคุณสมบัติพิเศษของ
ดาวเทียมอิริเดียม  คือ จะมีจานรับส่งสัญญาณแบบ Cross Link สามารถสื่อสารและต่อเชื่อมวงจรระหว่างดาว
เทียมด้วยกันได้
                  3.สถานี Gateway โครงข่ายอิริเดียม จะเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching
Telephone Network : PSTN(ผ่านทางสถานี     Gatewayดังนั้นผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถืออิริเดียมจะสามารถ
ติดต่อกับผู้ใช้บริการมือถือ     Cellular ที่อยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศต่างๆทั่วโลก     สถานี Gateway ยังรับผิดชอบในการดูแลข้อมูลลูกค้า การตรวจสอบการใช้งานและการจัดทำบิล  ในระยะแรกจะมีสถานี
Gateway ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี Temp:USA Rome : Italy, Rio de Janeiro : Brazil , Moscow :
Russia , Bombay : India , Beijihg : China , Seoul : Korea ,Aagano : Japan , Taipei : Taiwan , และ
Jakata : Indonesia
                4.เครื่องลูกข่าย (Iridium Subscriber Unit : ISU)จากระบบดาวเทียมอิริเดียมมีระยะห่างจากพื้นผิว
โลกเพียง 485 ไมล์ดังนั้นทำให้สามารถผลิตเครื่องลูกข่ายมีขนาดเล็ก  น้ำหนักเบา
                            4.1 เครื่องโทรศัพท์มือถือ  มีขนาดกะทัดรัด  ใหญ่กว่าเครื่องโทรศัพท์มือถือ Cellular ไม่มาก
นัก แบ่งเป็น 2 แบบ ใหญ่ๆคือ
                            - Single Mode สามารถใช้กับระบบอิริเดียมอย่างเดียว
                            - Dual Mode จะมีสวิตซ์เพื่อเลือกใช้งานเป็นระบบ GSM /  CDMA / D-AMPS
                            4.2 เครื่องโทรศัพท์ติดตามตัว มีขนาดกระทัดรัด สามารถแสดงหน้าจอได้ไม่น้อยกว่า 80 ตัวอักษร

                               <= GO BACK